บทความ

26.08.2564

“ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ด้วย AI และหุ่นยนต์”

“ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ด้วย AI และหุ่นยนต์”

วิวัฒนาการของ AI และหุ่นยนต์ ในวันนี้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถที่หลากหลายมากขึ้น ตั้งแต่ดูแลผู้สูงวัย เสิร์ฟอาหาร ดูแลงานบ้าน ช่วยผ่าตัด ลงไปวิจัยใต้ทะเล และอีกมากมาย ซึ่งล้วนถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้มีความสะดวกสบายและลดความเสี่ยงทั้งจากการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ขณะทำงาน รวมถึงป้องกันความเสี่ยงจากโรคระบาดอีกด้วย

ปัจจุบัน AI และหุ่นยนต์ในประเทศไทย ถูกนำมาใช้งาน 2 รูปแบบคือ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ และใช้งานด้านบริการ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลและร้านอาหารเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด

อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ทั้ง 2 รูปแบบนี้ส่วนใหญ่มักจะถูกผลิตและนำเข้าจากต่างประเทศ คงจะดีกว่าไหมถ้าหากเราสามารถพัฒนา AI และหุ่นยนต์ เพื่อใช้งานในประเทศได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติ

วังจันทร์วัลเลย์ ตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการใช้พื้นที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนวัตกรรม AI และหุ่นยนต์  เช่น
• การสร้างวิทยาการหุ่นยนต์ชั้นสูงและระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ (Advanced Robotics and Intelligent Automation/Smart Machine Fabrication Lab)
• การผลิตหุ่นยนต์ต้นแบบด้วยกระบวนการผลิตแบบ Additive Manufacturing (Industrial Additive Manufacturing Pilot Production)
• การทดสอบทดลองการใช้งานหุ่นยนต์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ในสภาวะจริง (Advanced Robotics and Industry 4.0 Testbed/Sandbox/Living Lab)
• ศูนย์ถ่ายทอดทักษะอุตสาหกรรม 4.0 (Learning Factory for Workforce Reskilling)
• การออกแบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Advanced Electronics Design for Industry 4.0)
• การพัฒนาเซ็นเซอร์เพื่อการเชื่อมต่อและแบ่งปันข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตในโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial IoT Sensors Development)
• เทคโนโลยีเออาร์/วีอาร์เพื่ออุตสาหกรรม (Augmented/Virtual Reality for Industry)
• เอไอเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (AI for Industry)

รวมทั้งยังสนับสนุนผู้ประกอบการ Tech Startup ที่มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับ AI เพื่อส่งเสริมการพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับการใช้งานในด้านต่าง ๆ ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น
1. ส่งเสริมการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นเองภายในประเทศ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมการผลิต เช่น รถขนส่งอัตโนมัติแบบไร้คนขับ (Human-Robot Collaboration) 

2. ส่งเสริมการพัฒนาโมดูลด้านระบบอัตโนมัติที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต และยานพาหนะไร้คนขับ (Unmanned vehicle) เช่น อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) อากาศยานปีกตรึง (Fixed - wings) และอากาศยานปีกหมุน (Drone) บอลลูนเพื่อการพาณิชย์ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ดาวเทียมพิกัดตำแหน่ง (Global Navigation Satellite System: GNSS) สำหรับประยุกต์ใช้งานเฉพาะทางต่างๆ ทั้งในการสำรวจ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา 
3. ส่งเสริมการพัฒนาหุ่นยนต์บริการที่มีมูลค่าสูง (High-value service robots)
4. ส่งเสริมการพัฒนาหุ่นยนต์ เพื่อให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการทำงานเฉพาะทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่ช่วยในการฟื้นฟูหรือช่วยเหลือผู้ป่วย หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ หุ่นยนต์บริการในบ้าน สำนักงาน และร้านค้า หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ใช้งานทางการเกษตร งานสำรวจ และหุ่นยนต์เพื่อการศึกษา 

การส่งเสริมทั้งหมดนี้ ก็เพื่อผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมมุ่งเป้าหรือ New S-Curve เป็นอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคตที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นกลไกที่สําคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของประเทศ โดยมีพื้นที่ EECi ในวังจันทร์วัลเลย์เป็นห้องแลปในการค้นคว้าและวิจัยนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตนี้

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มองเห็นอนาคตของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรม “วังจันทร์วัลเลย์” พร้อมแล้วที่จะเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนในเมืองอัจฉริยะแห่งนี้ ที่รายล้อมด้วยพื้นที่สีเขียวซึ่งช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ บนทำเลศักยภาพในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) พร้อมด้วยสิทธิพิเศษมากมายแก่นักลงทุน ไม่ว่าจะเป็น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 13 ปี, ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ, ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ร้อยละ 17 ซึ่งต่ำที่สุดในเอเชีย ฯลฯ

มาร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยไปด้วยกันกับเรา ที่ “วังจันทร์วัลเลย์