วังจันทร์วัลเลย์

    โครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ คืออะไร?            

โครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ โครงการวังจันทร์วัลเลย์ ตั้งอยู่ที่ ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง บนพื้นที่ 3,454 ไร่ เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จะพัฒนาพื้นที่โครงการฯ ให้มีระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ในระดับชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการนำแนวคิดเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน ซึ่งได้รับการรับรอง จาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) (Smart Environment, Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Governance, Smart Energy) เข้ามาใช้ในการออกแบบพัฒนาโครงการฯ โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันพัฒนาผู้ประกอบการไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจแห่งอนาคตและอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) เพื่อเป็นกลไกในพัฒนาเศรษฐกิจ และเพิ่มคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยนวัตกรรม องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ ปตท. ที่ต้องการจะขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต (Powering Life with Future Energy and Beyond)         

ปตท. ได้ลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสาธารณูปโภค รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่รองรับการอยู่อาศัยของประชากรภายในโครงการฯ นอกจากนี้โครงการฯยังจัดให้มีพื้นที่สีเขียวมากถึง 60% เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของกลุ่มนักวิจัยที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งใช้ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตามนโยบาย Thailand 4.0

ปตท. สวทช. และกลุ่มพันธมิตร มีความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในด้านงานวิจัยกับบริษัทเอกชน Start-up ผู้ประกอบการ และกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ เพื่อต่อยอดและแก้ปัญญา หรือ Pain Point ในการดำเนินธุรกิจ

พื้นที่ของโครงการฯ ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 โซน ตามคอนเซ็ปต์ Smart Natural Innovation Platform ดังนี้

1. พื้นที่เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ (Education Zone) ประกอบด้วยพื้นที่ขนาด 1,340 ไร่ เป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างโอกาสด้านการศึกษาเรียนรู้ที่ประกอบด้วย

• มหาวิทยาลัยวิทยสิริเมธี (VISTEC)

• โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) ที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (STEEM)

• สถาบันปลูกป่า ปตท. เพื่อรองรับและสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมและเชื่อมโยงองค์ความรู้ในพื้นที่

2. พื้นที่เพื่อการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone) ประกอบด้วยพื้นที่ขนาด 975 ไร่ เป็นพื้นที่ที่สร้างโอกาสทางธุรกิจด้านนวัตกรรม ที่มีโครงสร้างพื้นฐานบริการและระบบนิเวศที่ทันสมัยที่ครบครันรองรับด้วยแนวคิด Smart Innovation Platform หรือศูนย์กลางด้านวิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรม เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของ EECi และในโซนนี้มีที่ดินและพื้นที่ในอาคารให้เช่าเพื่อการวิจัยพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นพื้นที่สำหรับตั้งสำนักงานในการพัฒนาวิจัยนวัตกรรม (Innovation Office) ศูนย์นวัตกรรม (Innovation Center) ศูนย์วิจัยและพัฒนา (Research & Development Center) ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีความสนใจในการสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรม โดยได้รับสิทธิ BOI สูงสุด ในการทำการทดลองเพื่อทำ Proof of Concept หรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการทดลองภาคสนามก่อนผลิตจริงเชิงพาณิชย์ โซนนี้จะประกอบโดยผู้ประกอบการ นักลงทุนที่เป็นหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ผู้ที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการวิจัยพัฒนา ตลอดจนเชื่อมโยงการทำงานผ่านระบบนิเวศนวัตกรรมของ EECi ได้อย่างต่อเนื่องไร้รอยต่อ อีกทั้งเป็นแหล่งที่มีนักวิจัยที่มีความสามารถสูงจาก สวทช. สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และพันธมิตร

3. พื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน (Community Zone) บนพื้นที่ 152 ไร่  พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์พัฒนาโซนนี้เป็นที่พักอาศัย ศูนย์การค้าและบริการ เช่น โรงแรม อพาร์ตเมนต์ เป็นต้น แหล่งสันทนาการ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี เช่น คลินิกอัจฉริยะ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ทำงาน รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆอย่างครบครัน เพื่อรองรับนวัตกร นักวิจัย บุคลากรและครอบครัว ผู้ประกอบการ ชุมชนที่อยู่บริเวณโดยรอบ และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการในพื้นที่หรือต้องการเช่าพื้นที่เพื่อประกอบกิจการ ซึ่งเปิดรับให้บุคคลทั่วไปเข้าพื้นที่ได้

4. นอกจากนี่ยังพัฒนาโครงสร้างพื้นที่และระบบสาธารณูปโภคภายในเมือง (Infrastructure & Utilities) บนพื้นที่กว่า 416 ไร่ และยังมีพื้นที่สีเขียว (Green Area) ที่จะช่วยสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีขึ้นและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นพื้นที่สีเขียวเป็นพื้นที่หลักสำหรับคนเมืองที่ใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจ อีกกว่า 608 ไร่

Utilities

บริการและโอกาสทางธุรกิจ

ผลิตภัณฑ์และบริการ (Products & Services)

พื้นที่สำนักงานให้เช่า (Rental Space)

Intelligence Operation Center Building

• Information Center Building

ห้องประชุมสัมมนา (Meeting Room)

• Intelligence Operation Center Building

• Information Center Building

• Fire station Building

Data Center

• White space

• พื้นที่สำหรับวาง Rack ห้อง Computer Room และ Telecom Room

พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เป็นพื้นที่ Sandbox ในการทดลองทดสอบด้านนวัตกรรม รองรับ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่

1. พื้นที่ต้นแบบที่ได้รับอนุญาตให้ทดสอบทดลองเพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (UAV Regulatory Sandbox) แห่งแรกของประเทศ รองรับการพัฒนาทดสอบ ทดลองนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยปัจจุบันโครงการได้รับร่วมกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) พัฒนาให้เป็นพื้นที่ทดสอบ ทดลองอากาศยานไร้คนขับ (UAV Regulatory Sandbox) แห่งแรกของประเทศ พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ มีบริการ Drone Test Field / การฝึกอบรมโดรนในการประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ มีพันธมิตรในการร่วมพัฒนานิเวศนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในทุกมิติ เช่น สนามบินนวัตนภาสำหรับทดสอบและฝึกอบรม( Drone Test Filed) 
 
โดยในปัจจุบันมีความร่วมมือกับพันธมิตรในการใช้พื้นที่วังจันทร์ในการศึกษาความเป็นไปได้

2. บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและคลื่นความถี่สำหรับทดลองทดสอบด้านวิจัยและพัฒนาในพื้นที่วังจันทร์ (NBTC Regulatory Sandbox) เป็นพื้นที่ที่ได้รับนอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับพันธมิตรในการพัฒนาการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม อาทิ สัญญาณ 5G ที่ครอบคลุม และรองรับการพัฒนานวัตกรรมที่ต้องใช้สัญญาณ 5G

3. บริการพื้นที่ต้นแบบในการทดลองทดสอบยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicle) ในโครงการ ในปัจจุบัน กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)และสวทช. มีความร่วมมือในการพัฒนาการให้บริการพื้นที่ทดสอบทดลองยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicle) ในโครงการ โดยพัฒนา An Digital twin area prototype of the urban tested for CAV use case and Promotion (Playground-Digital Twin) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีสู่การต่อยอดอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคตต่อไป 

4. พื้นที่ต้นแบบในการทดสอบระบบ ERC Sandbox ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์เพื่อเป็นการให้บริการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน/คาร์บอนเครดิต/ใบรับรองสิทธิการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ซึ่งรวมถึงระบบทดสอบกระบวนตรวจวัด รายงาน และตรวจสอบ (Measurement, Reporting and Verification: MRV) เพื่อการพัฒนากฎเกณฑ์หรือข้อกาหนดเพื่อความโปร่งใสของตลาด และเพื่อเป็นการทดสอบนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบสมาร์ทกริด หรือการเพิ่มความยืดหยุ่นของโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและรองรับรูปแบบธุรกิจซื้อขายพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่ๆ รวมถึงการทดสอบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้หรือการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าสาหรับบุคคลที่สาม (Third Party Access) และการกาหนดอัตราค่าบริการที่เกี่ยวข้อง (Wheeling Charge) การศึกษาเทคโนโลยีใหม่ เช่น สถานีอัดประจุไฟฟ้ายานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage)

Innovation Service

พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์เป็นศุนย์บริการประสานงานทางด้านธุรกิจนวัตกรรมใน Innovation Ecosystem ของโครงการ มีโอกาสในการสร้างความร่วมมือในการพัฒนา ธุรกิจ นวัตกรรมภายในพื้นที่โครงการ และสร้าง Innovation Ecosystem ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เช่าพื้นที่โครงการ ได้แก่ บริการโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการวิจัย และการพัฒนานวัตกรรม (R&D and Innovation Development Service)

1. ทรัพยากรบุคคล นักวิจัย และ ผู้เชี่ยวชาญ ด้าน Science Technology and Innovation (STI) ในการช่วยพัฒนาการทำวิจัยและนวัตกรรมจาก สวทช. และ VISTEC

2. บริการด้านเครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูง ที่พร้อมรองรับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจาก สวทช. VISTEC

3. บริการโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) และห้องทดลอง จากพันธมิตรในพื้นที่โครงการ อาทิ สวทช. และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิต ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.)

4. Sustainable Manufacturing  Center (SMC) - Start Operation 2022

5. Greenhouse &  Plant Factory - Start Operation 2022

6. Smart Farming  Demo Sites - Start Operation 2022

7. Zn-Ion Battery Pilot Plant – Start Operation in 2023

8. Bio Refinery Pilot Plants - Start Operation 2024

9. กรมวิทยาศาสตร์บริการ(DSS)  เปิดให้บริการ CAV Proving Ground ในปี  2023

10. สถาบันวิจัย แสงซินโครตรอน (ในปี 2570)  เปิดให้บริการแสงซินโครตรอนขนาด 3-GeV ในปี  2027

11. บริการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยี Automation Robotics and Intelligence Systems จากหลายผู้ให้บริการ ได้แก่ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างหุ่นยนต์ใต้น้ำ เพื่อสำรวจและซ่อมแซม ระบบท่อ รวมทั้งการใช้อากาศยานต์ไร้คนขับ (drone) ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการเกษตรอัจฉริยะ และ การใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวน

12. สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) วิจัยและพัตนาเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) ในการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น ระบบการแปลภาษา เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) เป็นต้น

13. สวทช. เปิดให้บริการ SMC Lab พร้อมช่วยผู้ประกอบการในการนำเทคโนโลยี AI ในการยกระดับธุรกิจ เช่น ระบบการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) และ ระบบ High Performance Computing ที่สามารถพัฒนา ธุรกิจให้กลายเป็นธุรกิจด้านนวัตกรรมอย่างเต็มรูปแบบ

14. บริการพัฒนาบุคลากร จากสถาบันวิทยสิริเมธี ที่สร้างบัณฑิตระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีขั้นสูง สามารถพัฒนาวิจัยและนวัตกรรม นอกจากนี้ ปตท. ร่วมมือกับพันธมิตรในการจัดให้มีบริการหลักสูตรการเรียนรู้ ทักษะใหม่เพื่อต่อยอดทักษะเดิม (Upskill and Reskill) และ ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในอนาคต

ท่านสามารถศึกษาสิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆ ได้ คลิก

ภาพรวมและการเดินทางของเรา

2565

10.05.2565

- ปตท. จับมือ กฟภ. พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า รูปแบบ Smart Grid with Peer-to-Peer Trading Platform สำหรับเมืองอัจฉริยะวังจันทร์ฯ

16.03.2565

- ปตท. จับมือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดสนามทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติในวังจันทร์วัลเลย์ ยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมไทยสู่ศูนย์กลางยานยนต์สมัยใหม่

2564

2564

- วังจันทร์วัลเลย์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคแล้วเสร็จ พร้อมให้บริการในไตรมาส 1 ปี 2564

24.12.2564

- “วังจันทร์วัลเลย์” เมืองนวัตกรรมแห่งอนาคต ได้การรับรองเป็น Smart City เมืองอัจฉริยะของประเทศไทย

2563

03.11.2563

- กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ ทรงเป็นประธานเปิดอาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ และติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์

20.10.2563

- MOU โครงสร้างพื้นฐาน 5G

24.07.2563

- ลงนาม MOU ระหว่าง CAAT-PTT UAV Regulatory Sandbox

2562

10.10.2562

- เปิดใช้งานระบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (EEC-OSS)

2562

- พิธีเปิดหน้าดินการก่อสร้าง EECi เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562

24.07.2562

- ปตท. วางศิลาฤกษ์ อาคาร ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ รองรับ EECi วังจันทร์วัลเลย์

2561

2561

- คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเห็นชอบในการกําหนดให้พื้นที่บริเวณวังจันทร์วัลเล่ย์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เป็น “เขตส่งเสริม : เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561

2560

2560

- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOA) ความร่วมมือ “การพัฒนาวังจันทร์วัลเลย์เป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)” เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560

2559

2559

- คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบหลักการโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EEC) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559

2558

2558

- ก่อตั้งสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)

2558

- ก่อตั้งโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS)

2558

- ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์

2565

10.05.2565

- ปตท. จับมือ กฟภ. พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า รูปแบบ Smart Grid with Peer-to-Peer Trading Platform สำหรับเมืองอัจฉริยะวังจันทร์ฯ

16.03.2565

- ปตท. จับมือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดสนามทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติในวังจันทร์วัลเลย์ ยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมไทยสู่ศูนย์กลางยานยนต์สมัยใหม่

2564

2564

- วังจันทร์วัลเลย์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคแล้วเสร็จ พร้อมให้บริการในไตรมาส 1 ปี 2564

24.12.2564

- “วังจันทร์วัลเลย์” เมืองนวัตกรรมแห่งอนาคต ได้การรับรองเป็น Smart City เมืองอัจฉริยะของประเทศไทย

2563

03.11.2563

- กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ ทรงเป็นประธานเปิดอาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ และติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์

20.10.2563

- MOU โครงสร้างพื้นฐาน 5G

24.07.2563

- ลงนาม MOU ระหว่าง CAAT-PTT UAV Regulatory Sandbox

2562

10.10.2562

- เปิดใช้งานระบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (EEC-OSS)

2562

- พิธีเปิดหน้าดินการก่อสร้าง EECi เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562

24.07.2562

- ปตท. วางศิลาฤกษ์ อาคาร ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ รองรับ EECi วังจันทร์วัลเลย์

2561

2561

- คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเห็นชอบในการกําหนดให้พื้นที่บริเวณวังจันทร์วัลเล่ย์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เป็น “เขตส่งเสริม : เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561

2560

2560

- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOA) ความร่วมมือ “การพัฒนาวังจันทร์วัลเลย์เป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)” เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560

2559

2559

- คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบหลักการโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EEC) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559

2558

2558

- ก่อตั้งสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)

2558

- ก่อตั้งโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS)

2558

- ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย