Blog

24.03.2022

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตที่ยั่งยืน (SMC) พัฒนาประเทศไทยก้าวไกลสู่สากล

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตที่ยั่งยืน (SMC) พัฒนาประเทศไทยก้าวไกลสู่สากล

EECi ARIPOLIS มองเห็นศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นผู้นำในด้านฐานการผลิต จึงได้ก่อตั้ง ศูนย์นวัตกรรมการผลิตที่ยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center : SMC) คือ ศูนย์สาธิตนวัตกรรมและพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมสายการผลิต นักพัฒนาระบบ นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ไปจนถึงการปฏิบัติจริงในสถานที่แห่งนี้ 

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตที่ยั่งยืนให้ความสำคัญกับการพัฒนา 5 ด้าน 


1. ด้านการพัฒนาบุคลากร : เริ่มตั้งแต่บุคลากรทั่วไปจนถึงระดับผู้บริหาร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในองค์กร การพัฒนาบุคลากรจะมีทั้งในรูปแบบของทฤษฎีและภาคปฏิบัติในส่วนของความรู้ใหม่ (Upskilling) และการทบทวนความรู้ (Reskilling) 


2. ด้านการสร้างเครือข่าย การเชื่อมโยงเทคโนโลยีและธุรกิจ และการผลักดันมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรม : เพื่อให้องค์กร นักลงทุนมีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการผลิตที่สมบูรณ์ก่อนตัดสินใจลงทุนในกระบวนการผลิตจริง สามารถมาศึกษาเรียนรู้ ระบบสายการผลิตตัวอย่าง (Sustainable Factory Demo Production Line & Testbed) สำหรับภาคธุรกิจขนาดเล็กและกลางเข้ามาทดลองปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เข้ากับอุตสาหกรรมของตนเอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ฯ ให้คำปรึกษาทุกขั้นตอน นอกจากนี้ศูนย์ฯ นี้ยังเป็นสถานที่ที่ System Integrators : SIs ในการทำวิจัยพัฒนา ออกแบบ ผลิตต้นแบบ ทดลองสิ่งต่าง ๆ เพื่อช่วยพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว


3. ด้านสายการผลิตตัวอย่าง และ Testbed : เมื่ออุตสาหกรรมเข้มแข็งจะช่วยเชื่อมโยงผู้คนทั้งในและต่างประเทศให้มาทำงานร่วมกันในภาคการผลิตไทยให้มีการปรับตัวเข้าสู่ Industry 4.0 ผ่านทางกิจกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตใหม่ ๆ จนถึงแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันจนถึงอนาคต 


4. ด้านการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม : จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรด้านการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม ในระดับขยายผล (Translational R&I) ที่พร้อมสนับสนุนความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการผลิตตามความต้องการของ SIs และภาคการผลิต 


5. ด้านมาตรฐาน และบริการตรวจประเมินความพร้อมภาคการผลิต : ส่งเสริมมาตรฐานการผลิตที่สมบูรณ์และมีความพร้อมมากที่สุด ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตลอดถึงการบริหารจัดการการผลิตให้ไปในทิศทางที่สอดคล้องและถูกต้อง เพื่อให้ช่วยให้ภาคการผลิตทราบถึงความสามารถของตัวเองก่อนที่จะยกระดับขีดความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้นไปให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญทั้ง 5 ด้าน ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของโครงการนำร่องเมืองนวัตกรรมที่ใช้ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเข้ามาในสายการผลิตเพื่อช่วยแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนทักษะที่จำเป็น เครื่องจักรที่ใช้อยู่ไม่ทันสมัย ตลอดจนผลกระทบอื่น ๆ ที่จะตามมาในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงควบคุมการใช้พลังงานได้อย่างดีผ่าน แพลตฟอร์ม IDA (Industrial IoT and Data Analytics Platfrom) ที่ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT เพื่อติดตาม วิเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบประสิทธิภาพในการผลิต ตั้งแต่การใช้พลังงานไปจนถึงค่าสภาวะต่าง ๆ ของเครื่องจักรในโรงงานทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีความยืดหยุ่นสามารถผลิตชิ้นส่วนที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมและศูนย์กลางรองรับการลงทุนต่าง ๆ ในอนาคต

สำหรับนักลงทุนที่สนใจมาร่วมใช้พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 13 ปี, ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ, ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ร้อยละ 17 ซึ่งต่ำที่สุดในเอเชีย และสิทธิพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย

มาร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยไปด้วยกันกับเรา ที่ "วังจันทร์วัลเลย์"