ประชาสัมพันธ์

01.02.2564

ตึกอัจฉริยะ IOC วังจันทร์วัลเลย์ ระยอง

 

เป็นโครงการที่ทาง บริษัท ปตท. พัฒนาภายใต้แนวความคิด Smart Natural Innovation Platform โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วนหลัก ๆ แต่ใครจะรู้บ้างว่า การจะเป็นเมืองอัจฉริยะได้นั้น จะต้องมีการวางแผน บริหารการจัดการที่เหมาะสม วางระบบเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ต่าง ๆ ในโครงการ

 

ในคราวที่แล้ว เราได้พาทุกคนไปรู้จัก เมืองอัจฉริยะต้นแบบ Smart City ของโครงการ "วังจันทร์วัลเลย์" ไปกันบ้างแล้ว และยังเป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation หรือ EECi ) ที่ตั้งอยู่ใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ห่างจากกรุงเทพฯเพียง 160 กิโลเมตร

เป็นโครงการที่ทาง บริษัท ปตท. พัฒนาภายใต้แนวความคิด Smart Natural Innovation Platform โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

1.พื้นที่เพื่อการศึกษา (Education Zone)

2.พื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone)

3.พื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวก ที่พักอาศัยและสันทนาการ (Community Zone)

แต่ใครจะรู้บ้างว่า การจะเป็นเมืองอัจฉริยะได้นั้น จะต้องมีการวางแผน บริหารการจัดการที่เหมาะสม วางระบบเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ต่าง ๆ ในโครงการ และวันนี้ เราจะพาไปเยี่ยมชม อาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center หรือ IOC) ที่ตั้งอยู่ในส่วนของพื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone) ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการควบคุมระบบทั้งหมดด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัย

ภายในอาคารที่ออกแบบวางโครงข่ายเชื่อมโยงกับระบบอัจฉริยะต่างๆ เพื่อบริหารจัดการเมือง และสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อยอดในเชิงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาคารดังกล่าวอยู่ภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ท ซิตี้ (Smart City)

 

 

อาคารอัจฉริยะ IOC เป็นอาคารปฏิบัติการ 3 ชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอยรวมประมาณ 3,700 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยห้องสัมมนาขนาดใหญ่ ห้องประชุม ห้องควบคุมปฏิบัติการ (Control Room) พื้นที่สำนักงาน และห้องน้ำสำหรับผู้พิการทุกชั้น ออกแบบการก่อสร้างที่มีการรับรองตามมาตรฐาน LEED ( Leadership in Energy and Environmental Design) เพื่อเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นระบบอาคารเขียวที่ถูกนำมาใช้ทั่วโลก

โดยตัวอาคารใช้อุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างที่ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ระบบปรับอากาศและระบบไฟส่องสว่างชนิดประหยัดพลังงาน อุปกรณ์ห้อง Server ชนิดประหยัดพลังงาน สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ เป็นต้น

และวันนี้ เราจะพามาชม ระบบอัจฉริยะภายในตัวอาคาร ที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนห้องควบคุมปฏิบัติการ (Control Room) ส่วนที่สำคัญที่จะคอยควบคุมดูและระบบต่าง ๆ ภายในและภายนอกตัวอาคาร โดยในห้องควบคุมนั้น จะมีจอแสดงภาพที่ส่งจากระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นจอ LED ขนาด 55 นิ้ว จำนวน 48 ชุด และมีโต๊ะ Work Station สำหรับให้พนักงานปฏิบัติการ (Operators) ควบคุมและสั่งการระบบปฏิบัติการต่าง ๆ โดยมีระบบปฏิบัติการที่สำคัญ ได้แก่

 

 

1.Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA) : ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ แบบ Real-time เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบรวบรวมน้ำเสีย

2.Energy Management System (EMS) : แสดงปริมาณการรับจ่ายสาธารณูปโภคแบบ Real-time โดยรับข้อมูลมาจาก Smart Meter ที่ติดตั้งใน Tie-in Building และสามารถคำนวณค่าบริการรวมถึงออกใบแจ้งหนี้

3.Building Management System (BMS) : ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์งานระบบของอาคาร เช่น ระบบปรับอากาศ Access Control ระบบลิฟต์ ระบบไฟส่องสว่าง ระบบ Fire Alarm ระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบ Public Address

4.Security Management System (SMS) : แสดงผลควบคุม และสั่งการ ระบบ CCTV ระบบ Fire Alarm ระบบ Smart Parking ระบบ Network Monitoring System ระบบ Bus Tracking ระบบ Environmental Monitoring System ระบบ Emergency Phone

5.Substation Automation System (SA) : ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบจำหน่ายไฟฟ้าภายใน Substation

6.Smart Street Lighting System : ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของระบบไฟส่องสว่างตามแนวถนน ทางเดิน และทางจักรยาน

7.Lighting Control System : ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของระบบไฟส่องสว่างชองอาคารต่าง ๆ ภายใน Utility Center

ส่วน Smart Meeting Room เป็นห้องประชุมจุได้ประมาณ 40 คนพร้อมรองรับ ระบบประชุมทางไกล ภายในติดตั้งกระจกไฟฟ้า ที่เปลี่ยนสถานะเป็นใสหรือขุ่นเพื่อให้ผู้ประชุมสามารถมองลงมาที่ห้อง Control Room ได้ ภายในยังติดตั้งจอ Video Wall แบบ 3x3 ขนาดจอ 55 นิ้วและจอแสดงผลขนาด 75 นิ้ว 2 ชุด และจอ Smart Touch-screen Interactive Display ขนาด 70 นิ้ว สามารถเขียนหน้าจอและบันทึกลงคอมพิวเตอร์ หรือส่งทางอีเมล์ได้ รวมทั้งแสดงผลบนจอภาพโดยการเชื่อมต่อแบบไร้สายกับคอมพิวเตอร์ Tablet โทรศัพท์มือถือ ที่สำคัญอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในห้องประชุม สามารถสั่งงานด้วยเสียงหรือระบบไร้สายผ่าน Tablet เช่น ลำโพง สวิตช์ควบคุมไฟแสงสว่าง

 

 

อย่างไรก็ตาม กลุ่ม ปตท. มีเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ภายใต้วิสัยทัศน์ Smart Natural Innovation Platform ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่เป็นเลิศ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียบพร้อม รองรับการทำงานและการอยู่อาศัยได้อย่างครบครัน เพื่อเป็น Smart City เมืองนวัตกรรมแห่งอนาคต ที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกของประเทศ

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อีเมล info@wangchanvalley.com หรือ www.wangchanvalley.com

แหล่งที่มา: https://www.nationtv.tv/main/content/378813807/