บทความ

09.06.2565

ระบบการจัดการพลังงานไฟฟ้า สำหรับรองรับการใช้ชีวิตของประชากรภายในพื้นที่

เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ สร้างเมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย เชื่อมโยงกับระบบอัจฉริยะต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบการจัดการพลังงานไฟฟ้า สำหรับรองรับการใช้ชีวิตของประชากรภายในพื้นที่


วังจันทร์วัลเลย์ รับไฟฟ้าแรงดัน 115 kV จากสถานีไฟฟ้าวังจันทร์ของ กฟภ. แรงดันไฟฟ้าจะถูกลดลงเหลือ 22 kV ที่สถานีไฟฟ้าแรงสูง 115/22 kV (B02) ภายในพื้นที่ Utility Center โดยไฟฟ้าแรงดัน 22 kV บางส่วนจะถูกส่งไปให้ผู้ใช้ไฟฟ้าภายในพื้นที่โครงการฯ และอีกส่วนหนึ่งจะถูกลดแรงดันเหลือไฟฟ้าแรงดันต่ำที่สถานีไฟฟ้า 22 kV/400V (B05) เพื่อใช้ในพื้นที่ Utility Center

ระบบจ่ายไฟฟ้า 22 kV ภายในโครงการฯเป็นแบบฝังดิน ติดตั้งระบบสายส่งเป็น Loop ที่สามารถจ่ายไฟได้จากสองทิศทาง หากสายส่งหลักชำรุด สามารถสลับมารับไฟจากสายส่งอีกเส้นได้

ภายใน Utility Center มี Diesel Generators ขนาด 1,250 kVA จำนวน 2 ชุด สำหรับสำรองไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์และอาคารสำคัญต่าง ๆ ภายในพื้นที่ Utility Center โดยอุปกรณ์ IT ที่สำคัญจะมี UPS Back-up Battery ที่สามารถใช้งานได้อย่างน้อย 15 นาที (ใช้ระหว่างรอไฟจาก Generator)

ภายใน Tie-in Building มี Diesel Generator สำหรับสำรองไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ IT กล้อง CCTVs และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้งในพื้นที่ส่วนกลาง


นอกจากนี้ วังจันทร์วัลเลย์ ยังมี Smart System ที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น

Smart Meter ที่ Tie-in Building : ผู้ใช้ไฟฟ้า และเจ้าหน้าที่ที่อาคาร Intelligent Operation Center (IOC) สามารถดูข้อมูลการรับส่งไฟฟ้าได้แบบ Real-Time และนำข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้ามาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพในอนาคต รวมถึงแจ้งเตือนหากมีการใช้พลังงานเกินค่ามาตรฐานดัชนีชี้วัดการใช้พลังงาน

Energy Management System (EMS) : ซอฟต์แวร์ที่ใช้บริหารจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าภายในโครงการฯ รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลปริมาณและคุณภาพของไฟฟ้าที่รับ-ส่ง อีกทั้ง สามารถคิดค่าไฟและออกบิลให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า

SCADA System : ซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมและติดตามระบบ/อุปกรณ์จำหน่ายไฟฟ้าภายในโครงการฯ รวมถึงควบคุมการจัดสรรพลังงานไฟฟ้า กรณีไฟฟ้าเกินหรือดับในบางจุด (Load Shedding Function)

Substation Automation System : ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบจำหน่ายไฟฟ้าภายใน Substation

500 kW Solar Farm : ติดตั้งโดย GPSC เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสะอาด สำหรับใช้เฉพาะภายในพื้นที่ Utility Center และพื้นที่ Innovation Zone เฟส 2 ในอนาคต โดย GPSC มีแผนที่จะขยายขนาดกำลังผลิตไฟฟ้ามากถึง 2 MW

Microgrid for IOC : ติดตั้งโดย GPSC ประกอบด้วย Solar Roof ขนาด 117 kW ระบบ Energy Storage System (ESS) ขนาด 50 kWh และซอฟต์แวร์บริหารจัดการพลังงาน โดยจะนำพลังงาน Solar Roof ที่เหลือจากการผลิตมาเก็บไว้ใน ESS เพื่อนำกลับมาใช้เป็นพลังงานเสริมในช่วง Peak Load