บทความ

02.09.2564

“ยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคต”

“ยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคต”

เทคโนโลยีและนวัตกรรมไม่เคยหยุดพัฒนา โลกอนาคตที่ทุกอย่างสามารถสัมผัสได้ ไม่ใช่แค่เพียงจินตนาการอีกต่อไป ยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับที่ทุกคนใฝ่ฝัน โลกที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คน เทคโนโลยีและนวัตกรรมเหล่านี้พร้อมที่จะอำนวยความสะดวกสบายในชีวิตของทุกคน

นับถอยหลังสู่โลกของยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ

ปัจจุบันเริ่มมีองค์กรชั้นนำหลายราย นำนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับมาพัฒนาเพื่อใช้บริการแล้ว เช่น Tesla, Google ที่พัฒนาโหมด Self-Driving เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า และยังมีหลายประเทศที่ทดลองใช้บริการแท็กซี่ไฟฟ้าไร้คนขับในบางพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า “ยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ” ไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป แต่ยังมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในด้านอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศไทยอีกด้วย 


ด้วยความพร้อมด้านฐานการผลิตรถยนต์ที่ไทยเป็น 1 ใน 12 อันดับฐานการผลิตชั้นนำของโลก และอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมมุ่งเป้า หรือ New S-Curve ที่ไทยต้องการใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต โดยคาดว่าภายในปี 2030 จะสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ถึง 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด 

ขณะเดียวกัน บนพื้นที่ EECi วังจันทร์วัลเลย์นั้น จะมีห้องปฏิบัติการค้นคว้าและวิจัยเพื่อสนับสนุน New S-Curve ในด้านการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ (Autonomous Vehicles) รวมทั้งนำร่องการทดสอบเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการร่วมกับพันธมิตร ซึ่งจะนำไปทดสอบในโครงการ CAV Proving Ground บนพื้นที่ของกรมวิทยาศาสตร์บริการใน EECi วังจันทร์วัลเลย์

ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการวางแผนดำเนินงาน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับตัวแทนจากภาคเอกชน หน่วยงานวิจัย และหน่วยงานที่มีบทบาทด้านการกำหนดมาตรฐาน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการทดสอบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่เป็นไปตามการรับรองมาตรฐานสากล อีกทั้งให้เป็นพื้นที่เพื่อการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดความเสี่ยงในการพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรมของผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

ยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ (Autonomous Vehicles) คือ ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยแรงบิดของมอเตอร์ไฟฟ้า โดยการใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ที่สร้างจากแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้ารูปแบบอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สำคัญอยู่ถึง 2 ส่วน ดังนี้
1) แบตเตอรี่หรือตัวกักเก็บพลังงานของยานยนต์ไฟฟ้าใช้แบบ Lithium-lon ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ลักษณะเดียวกันกับที่ใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ 
2) ชิ้นส่วนในระบบส่งกำลัง เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า ตัวแปลงกระแสไฟฟ้าฯ

นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญให้ยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ (Autonomous Vehicles) สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ควบคุม โดยใช้ 4 เทคโนโลยีหลัก ได้แก่
• ระบบประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ (Central Processing Unit or CPU) ทำหน้าที่เป็นสมองของยานยนต์ทำให้สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองจากการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากระบบ Computer Vision 
• ระบบแผนที่ (Navigation) เป็นระบบการระบุตำแหน่งยายนต์ไฟฟ้าไร้คนขับจากดาวเทียมและระบบแผนที่เสมือนจริง (Virtual Map) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการวิ่งของยายนต์ในท้องถนนทุกอย่างไว้คลังข้อมูลดิจิตอล เช่น ตำแหน่งการจราจรที่สามารถเช็คได้ว่าเส้นทางไหนดีที่สุดหรือเลี่ยงการจราจรที่หนาแน่นได้ ทางม้าลาย ความเร็วในการขับขี่ฯ โดยยานยนต์จะใช้ระบบแผนที่ประมวลผลร่วมกับระบบ Sensor เพื่อความถูกต้องและแม่นยำสูงในการขับขี่ 
• ระบบตาและหูของยานยนต์ (Computer Vision) ทำหน้าที่ในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมขณะที่ยานยนต์กำลังเคลื่อนที่
• Robotics ระบบเชื่อมต่อระบบประมวลผลส่วนกลางเข้ากับเครื่องจักรต่างๆ

เทคโนโลยีและนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับทั้งหมดนี้ จะผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตประจำของทุกคนได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางที่มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การบริหารจัดการประสิทธิภาพบนท้องถนนอย่างมีคุณภาพ การตอบโจทย์การเดินทางสำหรับผู้พิการในการเดินทางให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้นไปอีกขั้น และทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มองเห็นอนาคตของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรม “วังจันทร์วัลเลย์” พร้อมแล้วที่จะเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนในเมืองอัจฉริยะแห่งนี้ ที่รายล้อมด้วยพื้นที่สีเขียวซึ่งช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ บนทำเลศักยภาพในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) พร้อมด้วยสิทธิพิเศษมากมายแก่นักลงทุน ไม่ว่าจะเป็น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 13 ปี, ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ, ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ร้อยละ 17 ซึ่งต่ำที่สุดในเอเชีย ฯลฯ

มาร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยไปด้วยกันกับเรา ที่ “วังจันทร์วัลเลย์