News

25.01.2021

กลุ่ม ปตท. เปิด “ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ” มุ่งพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์สู่ Smart City เมืองนวัตกรรมแห่งอนาคตที่สมบูรณ์แบบแห่งแรก

 

กลุ่ม ปตท. เปิดศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ศูนย์บัญชาการเหตุฉุกเฉิน (Emergency Command Center) และเป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์
 

เพื่อใช้ในการเฝ้าระวัง ประสานงาน สั่งการ และบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินต่างๆ กรณีเกิดเหตุขึ้นในพื้นที่ เพื่อพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์สู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) และเป็นศูนย์กลางแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม

อาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center : IOC) ตั้งอยู่ในวังจันทร์วัลเลย์ ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation หรือ EECi) เป็นอาคารปฏิบัติการ 3 ชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอยรวมประมาณ 3,700 ตารางเมตร และมีพื้นที่ดาดฟ้าประมาณ 1,300 ตารางเมตร ภายในอาคารประกอบด้วย ห้องควบคุมปฏิบัติการ ห้องสัมมนาขนาดใหญ่ ห้องประชุม พื้นที่สำนักงาน และห้องน้ำสำหรับผู้พิการทุกชั้น

อาคาร IOC ได้รับการออกแบบการก่อสร้างตามมาตรฐาน LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design ในระดับ Certified ซึ่งเป็นระบบที่ถูกนำมาใช้ประเมินมาตรฐานการออกแบบอาคารที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นระบบอาคารเขียวที่ถูกนำมาใช้ทั่วโลก โดยตัวอาคารใช้อุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างที่ประหยัดพลังงาน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ระบบปรับอากาศและระบบไฟส่องสว่างชนิดประหยัดพลังงาน อุปกรณ์ห้อง Server ชนิดประหยัดพลังงาน และสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ เป็นต้น

 

 

ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ ได้ถูกออกแบบภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยมีการวางโครงข่ายเชื่อมโยงกับระบบอัจฉริยะต่างๆ เพื่อบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ และสามารถนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ต่อยอดในเชิงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบอัจฉริยะภายในตัวอาคาร ประกอบด้วย

1.ห้องควบคุมปฏิบัติการ (Control Room) เป็นห้องแสดงภาพที่ส่งมาจากระบบปฏิบัติการต่างๆ ผ่าน Video Wall สูงประมาณ 2.7 เมตร ยาวประมาณ 14.5 เมตร ประกอบด้วยจอ LED ขนาด 55 นิ้ว จำนวน 48 ชุด พร้อมโต๊ะ Work Station สำหรับให้พนักงานปฏิบัติการ (Operators) ควบคุมและสั่งการระบบปฏิบัติการต่างๆ โดยมีระบบปฏิบัติการที่สำคัญ ได้แก่

Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA): การตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ แบบ Real-time เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบรวบรวมน้ำเสีย

Energy Management System (EMS): ระบบแสดงปริมาณการรับจ่ายสาธารณูปโภคแบบ Real-time โดยรับข้อมูลมาจาก Smart Meter ที่ติดตั้งใน Tie-in Building และสามารถคำนวณค่าบริการรวมถึงออกใบแจ้งหนี้

Building Management System (BMS): ระบบตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์งานระบบของอาคาร เช่น ระบบปรับอากาศ Access Control ระบบลิฟต์ ระบบไฟส่องสว่าง ระบบ Fire Alarm ระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบ Public Address

Security Management System (SMS): ระบบแสดงผลควบคุมและสั่งการ ระบบ CCTV ระบบ Fire Alarm ระบบ Smart Parking ระบบ Network Monitoring System ระบบ Bus Tracking ระบบ Environmental Monitoring System ระบบ Emergency Phone

Substation Automation System (SA): ระบบตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบจำหน่ายไฟฟ้าภายใน Substation

Smart Street Lighting System: ระบบตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของระบบไฟส่องสว่างตามแนวถนน ทางเดิน และทางจักรยาน

Lighting Control System: ระบบตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของระบบไฟส่องสว่างของอาคารต่างๆ ภายใน Utility Center

2.Smart Meeting Room ห้องประชุมความจุประมาณ 40 คน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ ระบบประชุมทางไกล พร้อมกระจกไฟฟ้าเปลี่ยนสถานะเป็นใสหรือขุ่น เพื่อให้ผู้ประชุมสามารถมองลงมายังห้อง Control Room ได้, จอ Video Wall แบบ 3x3 ขนาดจอ 55 นิ้ว และจอแสดงผลขนาด 75 นิ้ว 2 ชุด จอ Smart Touch-screen Interactive Display ขนาด 70 นิ้ว ที่สามารถเขียนหน้าจอ และบันทึกลงคอมพิวเตอร์หรือส่งทางอีเมล์ได้ การแสดงผลบนจอภาพโดยการเชื่อมต่อแบบไร้สายกับคอมพิวเตอร์ Tablet โทรศัพท์มือถือ และการสั่งงานอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเสียงหรือระบบไร้สายผ่าน Tablet เช่น ลำโพง สวิตช์ควบคุมไฟแสงสว่าง เป็นต้น

ไม่เพียงเท่านี้ เพราะกลุ่ม ปตท. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ให้กลายเป็นเมืองต้นฉบับอัจฉริยะที่รวบรวมทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ปลอดภัย และเพิ่มคุณภาพชีวิตความอยู่ให้กับผู้อยู่อาศัย

 

 

แหล่งที่มา: https://rb.gy/esngnc